rbs.rsu.ac.th

คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรังสิตLogo
นักธุรกิจมือใหม่ ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ-1

            ก่อนจะเริ่มทำอะไรสักอย่างก็ต้องมีการวางแผนก่อนเสมอ หากต้องการเริ่มทำธุรกิจก็ต้องมีการเขียนแผนธุรกิจเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น SME ร้านขายของออนไลน์ หรือแม้แต่จะสร้างแบรนด์ เพราะหากเริ่มทำธุรกิจโดยขาดการวางแผน อาจส่งผลให้ดำเนินธุรกิจได้ไม่ราบรื่น หรือสร้างกำไรได้น้อยกว่าที่ควร คณะบริหารธุรกิจจึงจะมาแนะนำวิธีการเขียนแผนธุรกิจง่ายๆสำหรับ นักธุรกิจมือใหม่ ทุกคนได้ทราบกัน

นักธุรกิจมือใหม่ ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ #บริหารธุรกิจ

 

 
 

นักธุรกิจมือใหม่ ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ-2

แผนธุรกิจคืออะไร

            การเขียนแผนธุรกิจก็เปรียบเสมือนการปูแนวทางที่จะเป็นการสร้างภาพของธุรกิจโดยรวม เริ่มตั้งแต่ที่มา ข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด วิธีดำเนินการ ไปจนถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของธุรกิจ ซึ่งการมองเห็นภาพปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จนั่นเอง

 

นักธุรกิจมือใหม่ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ-3

7 ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจ

1.Business Idea (แนวคิดการทำธุรกิจ) จะสร้างความเข้าใจในโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องใส่ใจเอามากๆ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่สามารถใช้ในการดึงดูดให้ผู้บริการแหล่งเงินทุนต่างๆ ทำให้เกิดความสนใจในการลงทุนกับธุรกิจ

2.Business Background (ความเป็นมาของธุรกิจ) และสิ่งต่อมาที่ต้องเขียนขึ้น ก็คือประวัติความเป็นมาของธุรกิจ ตั้งแต่ลักษณะของธุรกิจในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ประวัติผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจโดยย่อ หุ้นส่วนต่างๆ รวมไปถึงสินค้าและบริการ และข้อมูลส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาธุรกิจนั่นเอง

3.Business Analysis (การวิเคราะห์ธุรกิจ) เมื่อมีแนวคิดการทำธุรกิจครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจต่อมาก็คือนำแนวคิดและแผนการเหล่านั้นมาวิเคราะห์ หาจุดแข็งและจุดอ่อน เพื่อที่จะทำให้มองเห็นถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อธุรกิจ

4.Marketing Plan (วางแผนการตลาด) คือการวางกลยุทธ์การตีตลาดของธุรกิจเป็นวิธีการเข้าหาลูกค้า

5.Operation Plan (แผนการปฏิบัติงาน) คือการวางกำหนดการในการสร้างธุรกิจ จะเริ่มตั้งแต่เป้าหมายการผลิต กระบวนการผลิต แหล่งวัตถุดิบ และเงื่อนไขการซื้อวัตถุดิบ ซึ่งแต่ละธุรกิจมีสินค้าแตกต่างกันจึงทำกระบวนแผนการปฏิบัติงานนั้นต่างกันด้วย

6.Financial Plan (แผนการเงิน) การทำธุรกิจนั้นมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ ดังนั้นแผนการเงินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะธุรกิจนั้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หากแผนการเงินถูกวางไว้ไม่ดีก็อาจส่งผลทำให้ธุรกิจต้องเสี่ยงขาดทุนหรือปิดตัวลง

7.Emergency Plan (แผนฉุกเฉิน) เมื่อทำธุรกิจก็ควรมีแผนสำรองไว้ด้วย เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด เพื่อให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนเหล่านี้ และดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ