rbs.rsu.ac.th

คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรังสิตLogo
การบริหารเงิน

การบริหารเงิน อย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ คนค้าขายออนไลน์ส่วนใหญ่ มักให้ความสำคัญกับเรื่อง การตลาด (Marketing) ทำให้ไม่มีเวลาจัดระเบียบเรื่องสำคัญ ซึ่งคือ การเงิน (Finance) นั่นเอง สำหรับคนที่ทำอาชีพค้าขายออนไลน์ การบริหารเงิน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก คณะบริหารธุรกิจจึงอยากแนะนำแนวทางง่ายๆที่จะให้บริหารการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทำอย่างไรจึงจะบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ #การเงิน

           

การบริหารเงิน2

1.อย่าใช้เงินปะปนกัน

            การเปิดบัญชีธนาคาร สำหรับรับโอนเงินจ่ายเงิน แยกออกจากบัญชีใช้จ่ายส่วนตัว เวลาธุรกิจมีรายได้ให้โอนเข้าบัญชีกิจการนี้ เวลาธุรกิจมีรายจ่าย ก็ให้จ่ายจากบัญชีนี้เช่นกัน การทำแบบนี้ช่วยให้ทำบัญชีได้ง่าย รู้ว่าเงินเข้ากิจการเท่าไหร่ เงินที่จ่ายเป็นต้นทุนกิจการเท่าไหร่

การบริหารเงิน3

2.ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

            การทำบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำเอกสารส่งกรมสรรพากรกรเท่านั้น แต่จะทำให้เรารู้ว่า “กำไรที่แท้จริง” ของเราเป็นเท่าไหร่ ซึ่งมาจากการลงบันทึกรายได้และต้นทุนทั้งหมดให้ครบถ้วนในงบรายรับรายจ่ายของกิจการเสียก่อน ถ้ารู้กำไรที่แท้จริงเมื่อไหร่ รู้ว่ามีเงินเข้าออกเมื่อไร การบริหารเงินกิจการก็จะง่ายขึ้นมาก

การบริหารเงิน4

3.การบริหารสต็อก

            สิ่งที่ต้องระวัง สต็อก ก็คือ “เงิน” และถ้าสต็อกของไว้แล้วขายไม่ได้ เงินก็จะ “จม”  ร้านค้าจึงควรบริหารเงินสด และต้องหมั่นบริหารสต็อกให้ดี สินค้าไหนขายดีก็หมั่นเติม แต่ก็อย่าซื้อเติมจนเงินสดหมดมือ สินค้าไหนขายได้ช้า หรือเริ่มขายไม่ได้ ต้องหาทางทำโปรโมชั่นปล่อยของออกไปกลับมาเป็นเงินให้เร็วที่สุด การได้กำไรน้อยยังดีกว่าเงินต้องเสียไปกับสินค้า

การบริหารเงิน5

4.ดึง กำไรเป็น ความมั่งคั่ง

            ถ้าเราทำบัญชีรายรับรายจ่ายแล้ว และพบว่ามีกำไรปันผลมาเป็นการลงทุนอื่น เรียกว่า การดึงกำไรมาเป็นความมั่งคั่ง ซึ่งเมื่อเราสั่งสมปันผลส่วนนี้มาได้มากพอ ต่อให้ในอนาคตธุรกิจเราเจ๊ง แต่เงินสะสมในส่วนนี้จะทำให้เราอยู่ได้ (ธุรกิจล้ม การเงินส่วนตัวไม่ล้มไปด้วย)

การบริหารเงิน6

5.จัดการค่าใช้จ่ายในกิจการ

            ระแวดระวังเรื่องการใช้จ่ายให้ดี ระวังเรื่องการจ่ายเงินที่จะลงทุนใหญ่ๆ พยายามเก็บเงินสดไว้กับมือก่อน ในการคิดคำนวณรายได้ คิดแบบให้รอบคอบเข้าไว้ที่สุด  เพื่อประเมินดูว่าเราจะมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่เท่าไร ส่วนรายจ่าย คิดแบบครอบคลุมทั้งหมด เพื่อให้รู้ว่ารายจ่ายสูงสุดของเราอยู่ที่เท่าใด จากนั้นก็ลองหักลบกันดูว่า ผลลัพธ์ส่วนต่างจะเป็นอย่างไร วิธีเช่นนี้ทำให้เราเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า เพื่อให้เรากลับมาเตรียมตัว ว่าเราจะไปต่อไหวไหม

            ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจใหม่ หรือเป็นร้านค้าที่เปิดมานานแล้ว จุดสำคัญในการทำธุรกิจค้าขายให้อยู่นานก็คือการบริหารเงิน ทั้งหมดนี้คือ แนวทางบริหารเงินสำหรับนักบริหารธุรกิจ หรือพ่อค้าแม่ค้า ที่อยากจะเรียนรู้วิธีบริหารการเงินให้ดีและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #การเงิน