rbs.rsu.ac.th

บริหารคน-xyz1

ในการบริหารนั้น  มีการนำทฤษฎีเชิงจิตวิทยามาใช้จำนวนมาก เพราะการบริหารเป็นการทำงานกับ “คน” การศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน  บริหารคน และภาวะผู้นำ  จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้บริหาร วันนี้จึงคณะบริหารจึงอยากแนะนำทฤษฎีที่น่าสนใจมาฝากกัน

บริหารคน ด้วยทฤษฎี X, Y, Z #บริหารธุรกิจ

บริหารคน-xyz2

เริ่มจากทฤษฎี X และ Y

            Donglas Mc Gregor ได้ค้นพบแนวคิด “พฤติกรรมองค์การ”  และสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งเป็นไปตามกรอบทฤษฎี X  และทฤษฎี Y  คือ

1.ทฤษฎี X คือคนประเภทเกียจคร้าน ทฤษฎีนี้มองคนในแง่ลบ คนจะทำงานเมื่อมีกฎ ระเบียบมาบังคับ และต้องจ่ายค่าตอบแทนจึงจะทำงาน หลายบริษัทบริหารบุคลากรโดยใช้ทฤษฎีนี้ ซึ่งดูเหมือนจะได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับบุคลากรกลับไม่ดีตาม

2.ทฤษฎี Y คือคนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ  สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับบุคคลากร มองคนในแง่บวก ส่งเสริมให้คนพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพเพิ่มขึ้นจนกระทั้งบรรลุตามเป้าหมายขององค์กร มองคนเป็นจุดศูนย์กลาง แต่ในความเป็นจริงในองค์กรหนึ่งๆ มักมีบุคลากรที่มีความหลากหลายทางพฤติกรรม ดังนี้การจะใช้ทฤษฎี Y เพียงอย่างเดียวในการบริหารคนจึงอาจประสบปัญหาหลายอย่างและไม่บรรลุผลตามที่ตั้งใจไว้

บริหารคน-xyz3

ทฤษฎี คืออะไร

            William G. Ouchi ได้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X และ Y เข้าด้วยกัน คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระและมีความต้องการ หน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับบุคคลในองค์การ

ซึ่งทฤษฎี Z คือ การบริหารงานแบบญี่ปุ่น ที่มีลักษณะเด่น 7 ประการ

            1.การจ้างงานตลอดชีพ เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร  และมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

            2.การประเมินผลงาน เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ที่จะต้องประเมินผลงานผู้ใต้บังคับบัญชา และจะมีการให้รางวัลการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบ

            3.การเลื่อนตำแหน่งแบบช้าๆ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน

            4.การทำงานที่ถนัด พนักงานจะทำงานตรงกับความถนัด และความสามารถของตนเอง

            5.มีการควบคุมแบบไม่เด่นชัด มักใช้การควบคุมที่ไม่เป็นทางการ โดยใช้สมุดคู่มือการปฏิบัติงาน การให้รายละเอียดหรือการอธิบายการทำงาน

            6.การร่วมตัดสินใจ โดยรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกๆคนที่เกี่ยวข้องก่อนการตัดสินใจ        

7.ความผูกพันทั้งหมด เน้นการประสานงานต่างๆ เน้นพึงพากันมากกว่าการที่ต่างคนต่างอยู่

แนวคิดนี้เป็นรวมกันระหว่าง ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y เป็นการตีกรอบกฎ ระเบียบข้อบังคับให้เหมาะสมกับความไว้วางใจในตัวของบุคลากรในองค์กร หากองค์กรสามารถนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติให้เห็นผล ก็น่าจะเกิดคุณค่าแก่องค์กรสูงสุด

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ