rbs.rsu.ac.th

คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรังสิตLogo
มูลค่าตลอดชีพของลูกค้า

มูลค่าตลอดชีพของลูกค้า (Customer lifetime value) เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดสําคัญในกาทําความเข้าใจลูกค้าของคุณ  โดยเป็นการคาดการณ์มูลค่าที่จะเกิดขึ้นจากลูกค้าของคุณในหนึ่งช่วงชีวิต ต่อธุรกิจของคุณ หากว่าคุณและลูกค้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นั้นหมายความว่า มูลค่าหรือรายได้ที่จะเกิดขึ้นจากลูกค้าหนึ่งคน 

มูลค่าตลอดชีพของลูกค้า (Customer lifetime value) คืออะไรทำไมต้องให้ความสำคัญ #การตลาด

 

 

นักการตลาดไม่ได้มองแต่เพียงรายได้หรือยอดขายที่จะได้จากการขายสินค้าในปัจจุบัน เท่านั้น โดยแนวคิด
มูลค่าตลอดชีพของลูกค้า (Customer lifetime value) เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมนักการตลาด
จึงให้ความสัมพันธ์ค่อ ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและตราสินค้า (Consumer-brand relationship or CBR)

 

การมุ่งเน้นไปที่ มูลค่าตลอดอายุการใช้งานของลูกค้า  หรือ CLV ช่วยให้นักการตลาด ผู้ประกอบการ สามารถ
เข้าใจและพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพด้วยการจัดทํางบประมาณที่แม่นยําเหมาะสม อย่างไรก็ตามลูกค้าบางกลุ่ม
ให้ความสําคัญกับธุรกิจของคุณมากกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น ๆนั่นเป็นเหตุผลว่าทําไมจึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะต้องรู้ว่า
ลูกค้ากลุ่มใด หรือ ตลาดใดที่เป็นตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (target marketing) เพื่อจะมุ่งเน้นไปที่
ลูกค้ากลุ่มนั้นและให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ในขณะเดียวกันนักการตลาดต้องมีการประเมินความสัมพันธ์
ระหว่างตัวคุณกับลูกค้าเป็นระยะๆ เช่น ระยะเวลา 12 หรือ 24 เดือนเป็นต้น

 

วิธีการคำนวณหา มูลค่าตลอดชีพของลูกค้า หรือ CLV อย่างง่าย

ลองนึกภาพง่ายๆว่า

ลูกค้าร้านกาแฟ หนึ่งคน ดื่มกาแฟ วันละ 1 แก้ว แก้วละ 50 บาท หากลูกค้าคนดังกล่าว ซื้อกาแฟร้านเรา
อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ประมาณอาทิตย์ละ 5 วัน แสดงว่าร้านกาแฟของเรา จะได้รายได้จากลูกค้า 1 คน
อยู่ที่อาทิตย์ละ 250 บาท หากนับเป็น 1 ปี ร้านกาแฟจะมีรายได้จากลูกค้าคนดังกล่าว โดยประมาณเท่ากับ 52 สัปดาห์ หรือ 13,000 บาทต่อปี ในกรณีที่ลูกค้า มีความพึงพอใจและบริโภคสินค้า ร้านของเราอย่างต่อเนื่อง
เป็นประจำเท่าเดิมทุกๆสัปดาห์ จากการตัวอย่างการคำนวณต่อไปนี้

  1. ลูกค้าร้านกาแฟ 1 คน = 50 บาทต่อ 1 แก้ว x 5 แก้วต่อสัปดาห์ = 250 บาท

  2. ลูกค้าร้านกาแฟ 1 คน = 50 บาทต่อ 1 แก้ว x 5 แก้วต่อสัปดาห์ x 52 สัปดาห์ (1 ปี) = -13,200 บาท

ในทางตรงกันข้ามหากลูกค้า เข้ามาใช้บริการและไม่ได้รับความพึงพอใจในบริการหรือสินค้าและบริการ
และไม่ได้รับการแก้ไข ร้านกาแฟดังกล่าวจะได้รับ รายได้เพียง 50 บาท และจะสูญเสียมูลค่าทั้งหมดที่
อาจจะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของลูกค้า 1 คน จากตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายและรายได้ที่เกิดขึ้น เป็นเพียงการอธิบาย
เพื่อให้เห็นภาพในรอบ 1 ปีเท่านั้น นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญว่าทำไมนักการตลาดจึงให้ความสัมพันธ์กับ
การรักษาความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้บริโภคและตราสินค้าในระยะยาว (Consumer-brand relationships)
มากกว่า การมุ่งเน้นแต่ยอดขายเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังสามารถช่วยทำให้เข้าใจว่าทำไมร้านกาที่มีชื่อเสียงอย่าง
 สตาร์บัคส์ (Starbucks) ถึงให้ความสำคัญแก่การให้บริการแก่ลูกค้าและพยามสร้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer engagement) ในรูปแบบและช่องทางต่างๆอยู่เสมอ มากแต่มุ่งเน้นในการขายผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #การตลาด