rbs.rsu.ac.th

คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรังสิตLogo
เทคนิคการพูด-1

    หลาย ๆ คนอยากเรียน คณะบริหารธุรกิจ เพื่อไปเป็นผู้นำหรือนำทักษะและความรู้ไปใช้ประกอบการทำธุรกิจของตนเองในวันข้างหน้า แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงทักษะที่อาจจะไม่มีในเนื้อหาการเรียนใน คณะบริหารุรกิจ แต่แน่นอนว่าสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งในการทำงานก็ตาม เทคนิคที่ว่านั้นก็คือ เทคนิคการพูด และ เทคนิคการตั้งคำถาม นั่นเอง ไปดูกันเลย!

เทคนิคการพูด พูดยังไงถามยังไงให้ประสบความสำเร็จ! #บริหารธุรกิจ

 

 

เทคนิคการพูด-2

    ‘Good questions inform. Great questions transform.’ หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้างแล้ว การตั้งคำถามที่ดีอาจเปลี่ยนแปลงคนได้เลย การตั้งถามเป็นพลังที่จะเพิ่มคุณค่าภายในองค์กรหรือตัวเราเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างไว้เนื้อเชื่อใจได้ มองในมุมปกติ การตั้งถามเป็นเหมือนเข็มทิศชี้นำคุณไปในจุดหนึ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณได้เลย

 

    การที่เราจะตัดสินใครสักคนหนึ่ง ให้ตัดสินเขาจากคำถาม ไม่ใช่คำตอบ การเรียนรู้หลาย ๆ สิ่งนั้นส่วนใหญ่มาจากการตั้งคำถาม คนที่คนตั้งคำถามเก่ง หรือตั้งคำถามอย่างตรงประเด็น ไม่ว่าในชีวิตการทำงาน หรือความสัมพันธ์ คนเหล่านี้ต้องคิดเยอะกว่าคนที่ตอบคำถาม คนที่มักตั้งคำถาม มักจะเป็นนวัตกร หรือคนที่คิดค้นอะไรใหม่ ๆ การตั้งคำถามคือการตั้งโจทย์ใหม่ ตรงกันข้ามกับการตอบคำถาม เป็นการทำตามโจทย์ จริง ๆ แล้วสองอย่างนี้เองก็สำคัญทั้งคู่ แต่ว่าหากคุณจะเป็นผู้นำ หรือคนที่แตกต่างจากคนอื่น คุณต้องเป็นคนที่กล้าที่จะตั้งคำถามใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น มันเป็นโอกาสที่คนเรามักจะลืม หรือพลาดไป ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ เรื่องของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือบางครั้งอาจจะทำให้ลดความเสี่ยงภายในองค์กรได้เลย

    ความสำคัญของการตั้งคำถามนั้นอาจมีได้อยู่หลากหลาย อย่างการช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ การสร้างความแตกต่าง เพื่อพัฒนาตนเอง หรือเรียนรู้ ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ หรืออาจทำให้เข้าใจบางอย่างได้อย่างถ่องแท้มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม การไม่ตั้งคำถามอะไรกับชีวิต การทำงาน ความสัมพันธ์ อาจไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ทำตามโจทย์ไปเรื่อย ๆ อาจไม่เข้าใจตัวเราเองด้วย เพราะฉะนั้นเราเองก็ควรหมั่นฝึกฝนตั้งคำถามที่ดี

 

  หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องนี้ หากเรานั่งใต้ต้นแอปเปิล เเละแอปเปิลตกลงมาจากต้น เราอาจไม่คิดอะไรเลย หรือแค่หยิบมากิน แต่ Isaac Newton ไม่ได้คิดแบบนั้น เขาตั้งคำถามว่าทำไมลูกแอปเปิลถึงตกลงมาได้ นี่คืออนุภาพของการตั้งคำถาม คำถามที่ดีในความหมายทั่ว ๆ ไปคืออะไร ทำไมเราไม่รวยสักที กับ ทำอย่างไรเราถึงจะร่ำรวยได้เหมือนกับเศรษฐี ทั้ง ๆ ที่พวกเขามีต้นทุนชีวิตเหมือน ๆ กับเรามุมมองของทั้งสองคำถามแตกต่างกันด้วยทัศนคติ หลาย ๆ คำถาม ถามไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เผลอ ๆ อาจส่งผลให้เกิดด้านลบกับตัวเราได้

    ยกตัวอย่าง ระหว่างคำถามที่ว่า ทำไมเราถึงต้องเจอปัญหานี้? กับ ทำอย่างไรถึงจะแก้ไขปัญหานี้ได้? ถ้าคุณมีทัศนคติที่ดี คำถามของคุณก็จะดีตามไปด้วย แล้วคำถามที่ดีคืออะไร? การตั้งคำถามเพื่อเรียนรู้การทำงานซึ่งกันและกัน เพื่อเดินหน้าไปข้างหน้า เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร

 

เทคนิคการพูด-3

4 ขั้นตอน เทคนิคการพูด และการตั้งคำถามที่ดี #เทคนิคการตั้งคำถาม

    การตั้งคำถามที่ดีนั้น อย่างแรกให้เราคิดไว้ก่อนเลยว่า ไม่มีคำถามไหนเป็นคำถามที่โง่ ถ้าไม่นับคำถามที่ไม่มีกาละเทศะหรือทัศนคติลบ หลายครั้งคนเราไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพราะเพียงแค่เราไม่กล้าตั้งคำถาม

1. การตั้งคำถามที่กว้างและปลายเปิด (Open-ended Questions)

    เวลาเริ่มต้นบทสนทนากัน หรืออะไรก็ตาม เริ่มจากการตั้งคำถามที่กว้างและปลายเปิด (Open-ended Questions) จะช่วยให้ตีกรอบกว้าง ๆ เวลาที่ชวนคนคุย เราอาจจะได้มุมมองบางอย่างมากขึ้น เพราะฉะนั้น เราเองก็ควรเป็นผู้ฟังที่ดี เช่น สถานการณ์ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น การที่เราจะถามคำถามปลายปิดอย่าง ใช่หรือไม่ ในคำถามแรก ๆ  เราอาจจะพลาดข้อมูลสำคัญ ๆ ไปได้

 
 

2. คำถามที่ค่อย ๆ โฟกัสไปที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง (Probing Questions)

    เมื่อเราถามคำถามปลายเปิดไปแล้ว และคำตอบที่ได้มีจุดหนึ่งที่น่าสนใจ หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการจะรู้ ให้เริ่มโฟกัส ถามลึกลงไป หรือก็คือเจาะประเด็นนั้นไปเรื่อย  ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงมาก ขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณของคุณเองว่าต้องการรู้สิ่งใดจากคำตอบ ในขั้นตอนนี้คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณอยากรู้อะไร เช่น คุณต้องการรู้ว่าลูกค้าของคุณมีวิธีการเสพสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อาจจะเริ่มจากคำถามปลายเปิดอย่าง ตอนนี้ใช้สื่ออะไรอยู่บ้าง เมื่อเขาตอบ ก็จะเจาะลึกลงไปอย่างเช่น การเปรียบเทียบสองสื่อนี้ ใช้สื่อไหนบ่อยกว่ากัน ทำไมถึงใช้มากกว่า คือเจาะรายละเอียดลงไป ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการข้อมูลอะไรบ้าง

 

3.เปลี่ยนกรอบคำถามใหม่ (Reframing the Questions)

    การขุดคำถามถามเพื่อให้ได้อะไรใหม่ ๆ หา Insight ของคนไปเรื่อย ๆ  อาจจะใช้การถามแบบ 5 Why ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อาจจะเริ่มถามคำถามอย่าง

ทำไมถึงออกกำลังกาย : เพราะอยากสุขภาพดี

ถ้าเราถามแค่นี้เราอาจจะออกผลิตภัณฑ์เป็นขนมกรุบกรอบเพื่อสุขภาพ แต่หากเราถามเพิ่มอีก เช่น

ทำไมถึงอยากสุขภาพดี : เพราะอยากสุขภาพหัวใจ (Heart-rate) ดีขึ้น

สุขภาพหัวใจดีขึ้นสำคัญอย่างไร : สามารถทำให้เบิร์นแคลอรี่ได้มากขึ้น

ทำไมถึงอยากเบิร์นแคลอรี่ : เพื่อที่จะได้ลดน้ำหนัก

ทำไมอยากลดน้ำหนัก : อยากมีรูปร่างที่ดีเพื่อให้สังคมยอมรับ

    สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการก็จะได้เป็นขนมกรุบกรอบที่ทำให้สัดส่วนรูปร่างดี ซึ่งแตกต่างจากตอนข้างต้นที่เป็นขนมกรุบกรอบเพื่อสุขภาพดี เพราะฉะนั้นการถามคำถามที่ดีที่ถูกต้อง อาจแก้ปัญหาได้ครึ่งนึงเเล้วก็ได้ หลายครั้งคนแก้ปัญหาผิด เพราะตั้งคำถามผิด เพราะงั้นการตั้งโตทย์ใหม่ อาจทำให้เรามองเห็นปัญหาที่ต้องการแก้ได้มากขึ้น

 

4.คำถามที่ง่าย แต่ตอบยาก (Easy-to-understand but Hard-to-answer Questions)

    คำถามแบบนี้อาจทำให้คุณพบศักยภาพอะไรใหม่ ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้คุณมีความสุขหรือเปล่า หรืออีกสิบปีข้างหน้า คุณมองว่าชีวิตคุณจะอยู่ในทิศทางใด เป็นคำถามง่าย ๆ แต่คิดคำตอบยาก เป็นคำถามที่นำทางชีวิตหรือองค์กรของคุณ ตัวอย่างคำถามจากหนังสือเล่มนึง เป็นคำถามที่ผู้นำควรถามถึงตัวเอง เช่น คุณมองเห็นตัวเองเป็นอย่างไร เพื่อนร่วมงานของคุณมองคุณอย่างไร คุณเป็นผู้ฟังที่ดีหรือไม่ มีอะไรที่คุณยังไม่รู้หรือพลาดอะไรหรือไม่ เป็นต้น คำถามเหล่านี้อาจทำให้คุณพัฒนาองค์กรได้

   การตั้งคำถามที่ดีในสี่ข้อที่กล่าวไป จงอย่าลืมว่าคุณเองต้องมี empathy หรือความเอาใจใส่ หรือก็คือเป็น ‘ผู้ฟัง’ ที่ดีด้วย เพราะถึงคุณจำถามคำถามที่ดีมากแค่ไหน แต่ถ้าคุณไม่เป็นผู้ฟังที่ดี ฟังคำตอบเหล่านั้น คุณอาจมองไม่เห็นประเด็น หรือปัญหาที่คุณต้องการนำมาใช้ประโยชน์เลยก็เป็นได้

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ