rbs.rsu.ac.th

ปัญหาที่ลูกค้าพบ-pain-point

จุดเจ็บปวดของลูกค้า หรือ ผู้บริโภค (Customer pain points)   เป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดที่ของการพัฒนากลยุทธ์ของตราสินค้า (Branding) ผ่านการสํารวจหรือศึกษา กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา หรือ เพิ่มความสุข ของกลุ่มผู้บริโภคในตลาด โดยเชื่อว่าทุกคน หรือ ลูกค้าทุกกลุ่มมีปัญหาหรือความต้องการเป็นของตัวเอง ที่ต้องการการแก้ไข (Solving problems) และตอบสนองความต้องการของตัวเอง ในฐานะของตราสินค้าหรือผู้ประกอบการ

ปัญหาที่ลูกค้าพบ ของการบริโภคสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Customer pain points) คืออะไร #การตลาด

 

นักการตลาดมีหน้าที่ในการสำรวจและศึกษาจุดจุดเจ็บปวดของการบริโภคสินค้า หรือ ปัญหาที่ลูกค้าพบ
(Customer pain points)ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำมาสู่การพัฒนาและปรับปรุงกลยุทธ์ต่างๆขององค์กร
 ในการสร้างแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพและเกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันทางการตลาด (Competitive Advantage)  ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ 4Ps ซึ่งประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านตราสินค้า
(Product Strategy), ราคา (Price Strategy), ช่องทางจัดจำหน่าย (Place), และการสื่อสารการตลาด
แบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication) หรือ กลยุทธ์ 4Cs ทั้งในมุมมองทางธุรกิจ
และการสื่อสารทางการตลาด เช่น
-การตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Consumer wants and needs)
-ความคุ้มค่า (Cost to satisfy),
-ความสะดวก (Convenience to buy)
-การสื่อสาร (Communication)
-กลยุทธ์การสื่อสารอย่างชัดเจน (Clarify),
-มีความสม่ำเสมอ (Consistency),
-ความน่าเชื่อถือ (Credibility) เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักการตลาด ในการจะดำเนินการกลยุทธ์ขั้นต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ
ต้องมีความเข้าใจในจุดเจ็บปวดของลูกค้า (Customer pain points) เพื่อทำความเข้าใจปัญหาที่พวกเขา
เผชิญและนำไปสู่การเครื่องมือต่างๆการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและไปในทางเดียวกัน เช่น กรณีศึกษาของหน้ากากอนามัยที่มีอยู่ในตลาด   

 

หากใครได้ติดตามข่าวการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คงทราบดีกว่า สินค้าหนึ่ง
ที่มีความสำคัญมากในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาอย่างปฏิเสธไม่ได้คือ หน้ากากอนามัย โดยสามารถแบ่งหลักๆ
ได้เป็นทั้งหมด 3 ส่วน คือ หน้ากาอนามัยแบบผ้า หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และหน้ากากอนามัยN 95
อย่างไรก็ตาม มีตราสินค้ายี่ห้อหนึ่ง ได้ทำการศึกษาและแสดงให้เห็นถึง จุดเจ็บปวดของลูกค้า
(Customer pain points) ในหน้ากากแต่ละประเภทและค้นพบว่า หน้ากากแต่ละประเภทมีข้อเสียที่แตกต่างกัน
 เช่น ในส่วนของหน้ากากผ้า ผู้บริโภคต้องคอย ซักและดูแลอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนไส้กรอง
ที่ต้องใช้ร่วมกับหน้ากากผ้า ในขณะเดียวกันหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ไม่สามารถใช้ซ้ำได้และมีค่าใช้จ่าย
ในการซื้อขายค่อนข้างสูง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนในช่วงความต้องการสูงในตลาด และหน้ากาก N 95
มีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งหายใจไม่ค่อยสะดวกและไม่สามารถใช้ต่อเนื่องทั้งวันได้  
 โดย ตราสินค้าที่ได้ทำการศึกษาดังกล่าวคือ ตราสินค้า ยูนิโคล่  (Uniqlo) ซึ่งได้ทำการนำผลจากการศึกษาดังกล่าว มาพัฒนาและนำมาสู่การ ผลิตและออกผลิตภัณฑ์ ชื่อ Uniqlo AIRism ซึ่งสามารถตอบจุดเจ็บปวด
(Customer pain points) ขั้นต้นที่ได้กล่าวมา โดยเป็นหน้ากากที่มี น้ำหนักเบา หายใจได้สะดวก พกพาง่าย
มาพร้อมไส้กรองภายในตัวและสามารถใช้ซ้ำได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ ทำให้ผลตอบรับจากสินค้าดังกล่าว ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศ ญี่ปุ่น เมื่อเปิดตัวครั้งแรกในปี 2563 จากกรณีศึกษาดังกล่าว
เป็นเพียงตัวอย่าง ของการศึกษา จุดเจ็บปวดของลูกค้า (Customer pain points) และนำมาสู่การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #การตลาด