กำหนดการรับสมัครนักศึกษา เทอม S/2567
วันที่สมัคร: ขณะนี้ ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2567
*ขอสงวนสิทธิ์ปิดรับสมัครก่อนกำหนดในกรณีที่นั่งเต็ม*
ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจประสบการแข่งขันที่รุนแรงมาก ดังนั้นการดำเนินธุรกิจ
จึงต้องแสวงหาวิธีการหรือกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กร หรือ
เพื่อความอยู่รอดขององค์กรทางธุรกิจ โลจิสติกส์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยใน
การวางแผน สนับสนุน ควบคุมการไหลเวียนของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่งไปถึงจุดที่มีการใช้งาน หรือถึงมือผู้บริโภค
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งอยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้า และสนามบิน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะผลิตบัณฑิตด้านการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต การกระจายสินค้า และการขนส่ง รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรภายนอกและร่วมมือกับภาคเอกชน สนับสนุนให้บัณฑิตมีคุณภาพ โดยการศึกษาดูงาน หรือการฝึกงานวิชาสหกิจศึกษา ตลอดจนเชิญผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์สูงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
– ความรู้เบื้องต้นด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
– การจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
– การจัดการขนส่ง
– การจัดการความเสี่ยงภัยและกฎหมายสำหรับโลจิสติกส์
– การจัดการการกระจายสินค้า
– การจัดการโซ่อุปทาน
– การจัดการธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์
– การจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
– การบรรจุภัณฑ์สำหรับการจัดการโลจิสติกส์
– เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
– ระดับปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง
– ระดับบริหาร เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผนวัตถุดิบ
การผลิต หรือการกระจายสินค้า และนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
– ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก, ทางทะเล หรือ ทางอากาศ
– รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี
กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ประกอบกิจการธุรกิจส่วนตัวหรือที่ปรึกษาทางด้านการขนส่ง