rbs.rsu.ac.th

ทำธุรกิจส่วนตัว-ดีจริงเหรอ-1

            ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ที่เห็นชัดที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนเราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น แต่ถึงโลกของธุรกิจจะเปลี่ยนไปอย่างไร สิ่งหนึ่งที่สามารถนำมาใช้กับการทำธุรกิจได้เสมอก็คือความรู้ด้านการบริหารธุรกิจที่นำมาประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจของเราให้สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมได้ วันนี้คณะบริหารธุรกิจจึงจะมายกตัวอย่างคนที่สร้างธุรกิจส่วนตัวและประสบความสำเร็จเป็นกรณีให้ได้ศึกษากันค่ะ

จบบริหาร ทำธุรกิจส่วนตัว ดีจริงเหรอ ? #บริหารธุรกิจ

 

 
ทำธุรกิจส่วนตัว-ดีจริงเหรอ-2
ทำธุรกิจส่วนตัว-ดีจริงเหรอ-2

คุณสราวุฒิ พรพัฒนารักษ์ ผู้บริหารของ ดู เดย์ ดรีม

            บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์บำรุงผิว “สเนลไวท์” (SNAILWHITE) ภายใต้เครื่องหมายการค้านามุไลฟ์ (NAMU LIFE) ที่เลือกสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจ ด้วยการโฟกัสเฉพาะผลิตภัณฑ์เอาใจสาวไทยที่ต้องการผิวขาวใส โดยนำไอเดียครีมเมือกหอยทากที่ได้รับความนิยมในเกาหลีพัฒนาให้เข้ากับสาวไทยนับร้อยสูตรเป็นเวลา 8 เดือน จนกลายเป็นแบรนด์ Namu Life SnailWhite ภายใต้แนวคิด Beauty is Healthy

 

ทำธุรกิจส่วนตัว-ดีจริงเหรอ-3
ทำธุรกิจส่วนตัว-ดีจริงเหรอ-3

จุดเริ่มต้นของการ ทำธุรกิจส่วนตัว

            ช่วงแรกเริ่มเขาเป็นผู้ผลิตรับจ้างให้กับสินค้าบำรุงผิวแบรนด์เล็กๆ และยังคงเจียดเวลาช่วยงานธุรกิจครอบครัวไปด้วย หลังจากสังเกตว่าตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวทั้งระดับพรีเมียม และระดับมวลชนเป็นตลาดที่มีผู้เล่นมาก เขาจึงมองเห็นช่องว่างสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มแบบไทยๆ ซึ่งเขาเรียกว่า ผลิตภัณฑ์ “มวลชนระดับพรีเมียม” คุณสราวุฒิได้ไอเดียจากครีมหอยทากซึ่งเป็นที่นิยมมากในเกาหลีใต้แต่ยังไม่มีการทำตลาดเข้ามาในไทย “ผู้บริโภคไทยเห็นว่าครีมของเกาหลีมีความมันและข้นเกินไป” เขาอธิบาย ดังนั้นเขาจึงพัฒนาครีมที่มีเนื้อเบากว่าโดยใช้เมือกหอยทากนำเข้าจากเกาหลี ทำให้ได้ครีมที่ซึมซาบสู่ผิวได้เร็วกว่าและเหมาะกับอากาศชื้นในประเทศไทย

 

ธุรกิจส่วนตัว-ดีจริงเหรอ-4
ธุรกิจส่วนตัว-ดีจริงเหรอ-4

แนวทางที่ทำให้ธุรกิจเติบโต

กลุ่มเป้าหมายของ SnailWhite ซึ่งได้แก่ ผู้หญิงอายุ 25-35 ปี คุณสราวุฒิเริ่มแจกตัวอย่างให้บรรดาบล็อกเกอร์ด้านแฟชั่นและไลฟ์สไตล์เพื่อให้พวกเขาเขียนเล่าประสบการณ์ในการใช้ผลิตภัณฑ์เขาใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางในการทำตลาด รวมทั้ง Facebook และ Instagram

คุณสราวุฒิเสริมว่า เพราะฉะนั้นธุรกิจที่ทำ ต้องรู้จริง รู้ว่าถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร  เป็นการรู้อย่างฉลาด  เวลาจ้างคนต้องจ้างคนที่เก่งในด้านที่เราไม่ถนัด อย่าไปจ้างคนที่เก่งในด้านที่ถนัดเหมือนกัน หลังจากได้ผู้บริหารแล้ว ก็ต้องมีเป้าหมาย และมีหลักการ เพราะหากคุณเป็นเจ้าของแบรนด์ คุณก็จะเป็นเจ้าของตลาด เพราะเวลาลูกค้าซื้อสินค้า เขาจะถามถึงตัวแบรนด์ ดังนั้นแบรนด์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะสร้างความเชื่อใจให้กับผู้บริโภค และมั่นใจที่จะซื้อแบรนด์ของเรา เพราะฉะนั้นแล้วการคิดที่จะสร้างแบรนด์เป็นเรื่องที่ถูกต้อง

            จากบทความข้างต้น หวังว่าผู้อ่านจะได้นำไปเป็นกรณีศึกษา เป็นตัวอย่าง และแนวทางในการสร้างธุรกิจของตัวเองกันนะคะ

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ