rbs.rsu.ac.th

Domain Name-น่าจดจำ

            เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจ ยุคสมัยนี้ คงไม่พลาดการทำธุรกิจออนไลน์อย่างแน่นอน และเครื่องมือในการทำธุรกิจออนไลน์ก็มีหลากหลายอย่างให้เจ้าของธุรกิจเลือกสรร แต่มีเครื่องมือหนึ่ง ที่หลายๆธุรกิจเลือกใช้ นั่นก็คือ การทำเว็บไซต์ ในการทำเว็บไซต์ก็มีหลากหลายขั้นตอนมากมาย แต่ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆก็คือ การตั้ง Domain Name หรือชื่อโดเมน นั่นเอง เพราะถือเป็นสิ่งแรกๆที่ลูกค้าจะได้เห็น และจดจำ แต่การที่จะทำให้ลูกค้าจดจำชื่อโดเมนของเรานั้น ก็ต้องมีเทคนิคในการตั้งสักหน่อย วันนี้ทาง คณะบริหารธุรกิจ จะพาทุกคนไปเรียนรู้กับ 5 เทคนิคการตั้งชื่อโดเมนให้น่าจดจำ

Domain Name ตั้งยังไงให้น่าจดจำ!! #บริหารธุรกิจ

 

 

Domain Name-น่าจดจำ1

Domain Name (ชื่อโดเมน) คืออะไร ?

     ชื่อโดเมน โดยทั่วไปแล้วก็หมายความว่า ชื่อเว็บไซต์ ที่เราตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำไปใช้งาน แต่ความหมายของชื่อโดเมน ตามหลักการนั้น หมายถึง อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) IP Address นั้นได้จากที่เราทำการใช้บริการเว็บโฮสติ้ง หรือ พื้นที่เว็บไซต์ เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึง หน่วยงาน วัตถุประสงค์ เนื้อหา หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีชื่อโดเมนเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน

** เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือ รูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานนั้นมีความต้องที่จะฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์ของตนเองนั้น ออนไลน์อยู่่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม.

 
 
 

Domain Name-น่าจดจำ2

หลักการตั้งชื่อโดนเมนมีความสำคัญอย่างไร ?

        การตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำและเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าชมเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับ SEO (Search Engine)

 

 

 

Domain Name-น่าจดจำ3

รูปแบบการตั้งDomain Name

แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. โดเมนขั้นสูงสุด – Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก 2 แบบย่อย คือ

    1.1 โดเมนเนมสากล หรือ gTLD (generic Top-Level Domain Name) เป็นการจัดแบ่งตามลักษณะการใช้งาน เช่น .com, .net, .org สามารถใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด

    1.2 โดเมนเนมประจำสัญชาติ หรือ ccTLD (country code Top-Level Domain Name) เป็นหลักการจัดแบ่งตามลักษณะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือชื่อประเทศ เช่น .th (ประเทศไทย) , .cn (ประเทศจีน), .au (ประเทศออสเตรเลีย) เป็นต้น

2. โดเมนขั้นที่สอง – Second Level Domain เป็น Sub โดเมนที่แบ่งออกจาก TLD โดยอยู่ตำแหน่งถัดจาก TLD มาทางด้านซ้ายมือ เช่น .ac สำหรับสถาบันทางการศึกษา .co สำหรับองค์กรธุรกิจ เช่น rsu.ac.th

3. โดเมนขั้นที่ 3 – Third Level Domain เป็น Sub โดเมนที่ถูกแบ่งออกจาก SLD อีกชั้นหนึ่งและมีตำแหน่งถัดจาก SLD ทางด้ายซ้ายมือ ใช้เป็นชื่อย่อขององค์กร เช่น rsu เป็นต้น

 
 
 
 

Domain Nameน่าจดจำ4

เทคนิคการตั้งชื่อโดเมนให้น่าจดจำ

1. ตั้งชื่อที่มีเอกลักษณ์ของธุรกิจชัดเจน ควรเป็นชื่อเดียวกับธุรกิจของเรา หรือชื่อที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของสินค้าและบริการ จะตั้งเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาคาราโอเกะก็ได้ เพราะหากตั้งคนละชื่อกับธุรกิจของเรา อาจทำให้ลูกค้าสับสน และเกิดปัญหาในการจำของลูกค้า นอกจากนี้การตั้งชื่อให้ตรงกับธุรกิจยังส่งผลต่อ SEO (Search Engine) ที่ช่วยให้ลูกค้าค้นหาเราได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

2. ไม่ควรใช้อักษรย่อ เพราะอักษรย่อทำให้ลูกค้าจดจำเราได้ยาก และดูไม่เป็นมืออาชีพ ลดความน่าเชื่อถือของธุรกิจเราลงได้ เช่น 2gether , Be4 หรือ AKA อาจเป็นศัพท์วัยรุ่นที่ดูทันสมัยแปลได้หลายความหมาย แต่ในทางกลับกันกลุ่มลูกค้าหรือผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์อาจจะไม่เข้าใจ เนื่องจากมีหลายช่วงอายุ ทำให้เกิดการตีความหมายที่แตกต่างกันได้

3. สั้นกระชับและมีความหมายชัดเจน จะทำให้ลูกค้าเข้าใจ สามารถสะกดและจดจำง่าย (แนะนำว่าไม่ควรเกิน 3 คำ หรือ 9 ตัวอักษร) หากลองสังเกตุเราจะพบว่าเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมส่วนใหญ่จะมีชื่อที่สั้น และเข้าใจง่าย เพราะสะดวกต่อการพิมพ์เข้าหน้าเว็บไซต์ เช่น Google หรือ Youtube เป็นเว็บไซต์ที่เราต้องเข้าใช้งานอยู่บ่อยๆ การมีชื่อที่สั้นกระชับก็จะพิมพ์ได้สะดวกกว่าชื่อยาวๆ

4. เลือกใช้นามสกุล .com เป็นนามสกุลที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันมากที่สุด และเป็นนามสกุลที่ช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายกว่าการใช้ .net /.org /.in.th ที่เป็นนามสกุลสากล ถึงแม้จะใช้งานโดยแบ่งตามลักษณะของเว็บไซต์แต่ในประเทศไทยลูกค้ามักให้ความสนใจและคุ้นเคยกับเว็บไซต์ที่มีนามสกุล .com มากที่สุด

5. ไม่ควรใช้สัญลักษณ์ที่พิมพ์ยาก เพราะจะทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย จำได้ยากและมีโอกาสสูงที่ลูกค้าจะพิมพ์ผิดและทำให้ไปเข้าเว็บไซต์อื่น หรือหาเว็บไซต์เราไม่เจอ นอกจากจะพลาดโอกาสในการเพิ่มยอดขายแล้วเราอาจกำลังส่งลูกค้าไปให้คนอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ