rbs.rsu.ac.th

คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรังสิตLogo
ภาวะ-Burnout

          เมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้วผมรู้สึกไม่ค่อยสบายเลยไปหมอที่โรงพยาบาล เป็นปกติที่โรงพยาบาลของรัฐบาลจะมีคนต่อคิวเพื่อรับการรักษากันอย่างล้นหลามเพราะด้วยราคาเข้ารับการรักษาที่คนส่วนใหญ่พอจะรับไหวถึงบางครั้งจะเจอหมอแบบที่ไม่ค่อยเจอบ้าง แต่สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผมคือจำนวนคนที่ต่อไปเข้าไปรับการรักษาที่แผนกจิตแพทย์ที่เป็นร้อยนั่งรอคิวกันจนแทบล้นแผนก ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าคนจะเป็นโรคทางจิตกันเยอะขนาดนี้

 

Burnout หมดไฟทำงาน ทำอย่างไรจึงจะเรียกคืนกลับมา!! #บริหารธุรกิจ

 

          ที่น่าตกใจกว่านั้นคือส่วนใหญ่ที่นั่งๆ รอหมอกันอยู่เป็นวัยรุ่นไม่ก็วัยทำงานแทบทั้งนั้น มีไม่เยอะที่เป็นคนหลังวัยเกษียณ มันทำให้ผมคิดว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมคนที่อยู่ในวัยที่มีแรงทำนู้นทำนี้ได้ สามารถออกไปเที่ยวที่ไหนก็ได้ เป็นวัยที่น่าจะมีความสุขกันชีวิตถึงป่วยทางจิตกันเยอะขนาดนี้ หลังจากที่ผมเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตผมก็เจอว่า หนึ่งในสิ่งที่ทำให้วัยรุ่นและคนวัยทำงานมีการป่วยทางจิตอันมากในยุคนี้คือภาวะที่เรียกว่า “ภาวะหมดไฟในการทำงาน”

ภาวะ Burnout คืออะไร

          มันคือ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” จริงๆแล้วภาวะนี้ในทางการแพทย์ไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บอย่างชัดเจน และเพราะมีคนหลายคนที่มีอาการภาวะหมดไฟในการทำงาน มีอาการด้วยคล้ายๆ กับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า คือพวกเขามีความคิดวิตกกังวลอยู่ในหัวสูง ทำให้ภายนอกพวกเขาอาจจะดูเหมือนคนปกติทั่ว แต่ภายในเขาไม่มีความสุข และคนที่มีอาการนี้อาจจะทำให้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า คนที่มีภาวะหมดไฟในการทำงานจะลักษณะรู้สึก หดหู่ เหนื่อย หมดแรง ไม่อยากตื่นไปทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานตก อารมณ์แปรปรวน ไม่พอใจในการทำงาน รู้สึกว่าทำงานได้ไม่ดี พวกเขาอาจจะผัดวันประกันพรุ่ง ไม่กระตือรือร้นเท่าเมื่อก่อน หุนหันลันแล่น บริหารเวลาได้ไม่ค่อยดี อาจจะมาสายบ่อย ตอนทำงานจะดูไม่ค่อยมีความสุข

 

ภาวะ-Burnout-1

 

วิธีจัดการกับภาวะ Burnout

  • ตั้งเป้าหมาย

ในการทำงานถ้าเราตั้งเป้าหมายในการทำงานไว้ เช่นทำโปรเจคเสร็จภายในอาทิตนี้ เข้าประชุมอาทิตละ 1 ครั้ง อ่านหนังสือจบเดือนละ 1 เล่ม ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจนเราจะรู้ว่าควรทำอะไรต่อไป

  • แยกเป็นเป้าหมายย่อย

เมื่อเรามีป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว เราก็ทำนำเป้าหมายใหญ่นั้นกระจายออกมาเป็นเป้าหมายเล็กๆรายวันเพื่อให้สามารถทำได้ง่าย เช่น ถ้าเราอยากอ่านหนังสือจบภายในหนึ่งเดือนก็กระจายออกมาเป็น อ่านหนังสือวันละ 10 หน้า

  • เขียนตารางเวลาออกมาออก

หลังจากที่รู้ว่าวันต้องทำอะไรวันละเท่าไหร่บ้าง ที่นี้ก็เขียนมันออกมาว่าจะทำอะไรตอนไหน ในช่วงก็โมง แล้วเราจะรู้ว่าแต่ละวันต้องทำอะไร และทำอะไรมากหรือน้อยเกินไปเราก็สามารถปรับได้ สามารถช่วยลดอาการเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานได้มากเลยครับ

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ