กรอบแนวคิดของการลงทุนในหุ้น
แนวคิดการวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน เป็น แนวคิดที่มุ่งวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นตัวกําหนด อัตราผลตอบแทน ความเสี่ยงจากการลงทุน และมูลค่าของหลักทรัพย์ ซึ่ง ปัจจัยพื้นฐานดังกล่าว ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านภาวะ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยที่เกี่ยวกับผลการดําเนินงาน รวมทั้ง ฐานะทางเงินของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ดังนั้น “การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน” จึงเป็นการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะอุตสาหกรรม และภาวะบริษัท เพื่อนํามาใช้ในการกําหนดมูลค่าที่แท้จริงของ หลักทรัพย์ ซึ่งมีกรอบแนวคิด ดังนี้
การลงทุนในหุ้น เรื่องแรก :การวิเคราะห์เศรษฐกิจ (Economic Analysis)
“การวิเคราะห์เศรษฐกิจ” จะเป็นการวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งแนวโน้ม ระยะยาวและระยะสั้น ทั้งเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลก นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงการวิเคราะห์วัฏจักร เศรษฐกิจ (Economic Cycle) ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในด้านต่างๆ และนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจที่ออกหลักทรัพย์มากน้อยเพียงใด
การลงทุนในหุ้น เรื่องที่สอง : การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)
“การวิเคราะห์อุตสาหกรรม” จะเป็นการวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) สภาพการ แข่งขันในอุตสาหกรรม ตลอดจนอนาคตของอุตสาหกรรมว่าจะมีแนวโน้มอัตราการเจริญเติบโตอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น นโยบายของรัฐบาลที่จะให้การสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคในการดําเนินธุรกิจ โครงสร้าง การเปลี่ยนแปลงของระบบภาษีของรัฐบาล โครงสร้างของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท เป็นต้น
การลงทุนในหุ้นเรื่องที่สาม : การวิเคราะห์บริษัท (Company Analysis)
“การวิเคราะห์บริษัท” เป็นขั้นสุดท้ายของการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ เพื่อคัดเลือกบริษัทที่ควรลงทุน โดยจะเน้นการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) เช่น ประสบการณ์และ ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร บุคลากร ขีดความสามารถด้านการตลาด การผลิต การบริการ การวิจัยและพัฒนา การ บริหารและระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ฯลฯ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ซึ่งจะวิเคราะห์ จากงบการเงินทั้งในอดีตและปัจจุบันของบริษัท เพื่อนํามาประมาณการกําไรต่อหุ้นและราคาหุ้นในอนาคต