rbs.rsu.ac.th

คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรังสิตLogo
บทเรียนสู่ความสำเร็จ-Jeff-

          จากจุดเริ่มต้นในปี 1994 ที่เป็นแค่ร้านขายหนังสือออนไลน์ 27 ปีผ่านไป เจฟฟ์ เบโซส์ ก็ปลุกปั้น Amazon ให้กลายเป็นอาณาจักรยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซ ด้วยมูลค่าตลาดของบริษัทถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดันให้เบโซส์ขึ้นแท่นกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับโลกด้วยมูลค่าทรัพย์สินเกือบ 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้วยวัยที่ล่วงเลยถึง 57 ปี ในที่สุดเบโซส์ก็ตัดสินใจอำลาตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เพื่อส่งไม้ต่อให้กับ แอนดี้ แจสซี มือขวาคนสนิทของตัวเองในการดูแล Amazon ต่อไป

ทั้งนี้ บทเรียนสู่ความสำเร็จ ของเบโซส์ที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนาน ถือเป็นบทเรียนล้ำค่าที่บรรดานักบริหารทั้งหลายมักนำมาเป็นแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจองค์กร โดยเบโซส์มักจะแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้ตามโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน หรือจดหมายประจำปีส่งตรงถึงบรรดาผู้ถือหุ้น 

5 บทเรียนสู่ความสำเร็จ ของ Jeff Bezos #บริหารธุรกิจ

 

 

 

บทเรียนสู่ความสำเร็จ-Jeff-1

1.ลองเสี่ยง

แต่บ่อยครั้งสิ่งที่เบโซส์มักจะแนะนำเสมอก็คือการให้คนและคนลองเสี่ยงลงมือทำอะไรสักอย่างหนึ่ง โดยแนวคิดของเจ้าตัวก็คือ “ให้จินตนาการว่าคุณอายุ 80 ปี อะไรคือสิ่งที่คุณเสียใจที่สุด ระหว่างสิ่งที่คุณไม่ได้ทำ กับสิ่งที่คุณทำแล้วล้มเหลว เกือบทั้งหมดมักจะเสียใจกับสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าความล้มเหลวของตนเอง ดังนั้น ต่อให้ไม่รู้ว่าผลจะเป็นอย่างไร ลองเสี่ยงลงมือทำดู ซึ่งการลองเสี่ยงครั้งแรกของเบโซส์ก็คือการลาออกจากงานประจำที่มั่นคง มาทุ่มเทให้กับการสร้าง Amazon 

“ผมไม่คิดว่าผมจะเสียใจกับสิ่งที่ได้พยายามทำแล้วแต่ไม่สำเร็จ ผมมักกลัวมากกว่าหากว่าตนเองตัดสินใจที่จะไม่ทำอะไรเลย” เบโซส์ระบุ ก่อนชี้แนะว่า หลักการดังกล่าวเป็นสิ่งที่เจ้าตัวใช้สำหรับการตัดสินใจในการผลักดัน Amazon ให้เติบโต และเป็นหลักการดำเนินชีวิตของตนเอง 

 
 
 
 

บทเรียนสู่ความสำเร็จ-Jeff-2

 

2.ตัดสินใจให้ดีและฉับไว 

สำหรับเบโซส์ กุญแจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจยังสามารถรักษาและเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่องยาวนานได้ก็คือ การตัดสินใจที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม มีความฉับไว และรวดเร็ว

โดยในจดหมายถึงผู้ถือหุ้น Amazon ในปี 2015 เบโซส์เขียนถึงความสำคัญของความเร็วในการตัดสินใจ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ Amazon กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งแม้ว่าการตัดสินใจบางเรื่องอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเรียกกลับคืนมาได้ แต่การตัดสินใจส่วนใหญ่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น กรณีที่ตระหนักว่าการตัดสินใจนั้นไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด 

ทั้งนี้ ในกรณีที่คิดว่าต้องตัดสินใจใหม่เพราะตัวเลือกที่เลือกไปไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด ให้ตัดสินใจแบบเด็ดขาดทันที เพราะความลังเลล่าช้าในส่วนนี้จะกลายเป็นความล้มเหลวได้ง่าย และที่สำคัญที่สุด จงเชื่อในสัญชาตญาณของตนเอง

“ทุกการตัดสินใจที่ดีที่สุดของผม ทั้งในธุรกิจและในชีวิต ผมตัดสินใจด้วยหัวใจ สัญชาตญาณ และกึ๋นของผม ไม่ใช่จากการวิเคราะห์” เบโซส์กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์กับ The Economic Club of Washington, D.C. ในปี 2018

 

 
 

บทเรียนสู่ความสำเร็จJeff3

 

3.หาอาชีพที่ใช่สำหรับคุณ

การค้นหาอาชีพที่ใช่ ที่ตรงกับความสนใจหลงใหลในชีวิต ถือเป็นหนึ่งในคำแนะนำหลักที่เบโซส์มักให้กับบรรดาพนักงานหนุ่มสาว รวมถึงลูกๆ ทั้ง 4 คนของตนเอง โดยเบโซส์ให้นิยามของคำว่า ‘อาชีพ’ โดยแบ่งออกเป็น 3 คำ คือ Job, Career และ Calling 

คำว่า Job หมายถึง งานที่ทำเพราะช่วยให้บรรลุจุดประสงค์อื่นที่ตั้งไว้ ส่วน Career คือตำแหน่งที่ให้เงินใช้จ่ายและให้โอกาสก้าวหน้าเติบโต ซึ่งท้ายที่สุดเมื่อเติบโตจนถึงที่สุด Career มักจะทำให้ชีวิตรู้สึกว่างเปล่าไร้ความหมาย ขณะที่ Calling หมายถึง งานที่ผู้ทำรู้สึกถึงมูลค่าและคุณค่าของตนเอง 

สิ่งที่เบโซส์ต้องการจะสื่อก็คือให้หาอาชีพที่เป็น Calling ของตนเอง ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือให้หาวิธีสร้างหน้าที่การงานของตนเองขึ้นมาจากความปรารถนาหรือแพสชันของตน โดยเบโซส์เชื่อสุดใจว่า คนทุกคนล้วนมีแพสชันเป็นของตนเอง 

“เราทุกคนต่างมีพรสวรรค์ในเรื่องของความปรารถนา แต่จะมีเพียงคนที่โชคดีที่สุดเท่านั้นที่สามารถมุ่งหน้าติดตามความปรารถนาของตนเอง”

ทั้งนี้ ในกรณีของเบโซส์ ความปรารถนาใฝ่ฝันของตนเองก็คือ จรวดและห้วงอวกาศ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่เจ้าตัวจะทุ่มเทให้กับ Blue Origin บริษัทด้านอวกาศ พร้อมเตรียมตัวเดินทางเยือนอวกาศทันทีที่ลงจากตำแหน่งซีอีโอ 

 

 
 

บทเรียนสู่ความสำเร็จJeff4

 

4.อ้าแขนรับความไร้ประสิทธิภาพของการเรื่อยเปื่อย 

ในปี 2018 หัวข้อหนึ่งที่เบโซส์เขียนถึงบรรดาผู้ถือหุ้นก็คือ เรื่องของสัญชาตญาณ ความอยากรู้อยากเห็น และพลังของการคิดเรื่อยเปื่อย โดยอดีตซีอีโอของ Amazon อธิบายถึงความสำคัญของการหาเวลาว่างมานั่งสำรวจค้นหาความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองเพื่อจะได้พบโซลูชันใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม

ทั้งนี้ เบโซส์อธิบายว่า ธุรกิจของ Amazon อาจขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อตอบสนองคำสั่งซื้อของลูกค้า แต่บางครั้งการลองทำเรื่องเรื่อยเปื่อยไร้สาระ ที่หมายรวมถึงการใช้ทางอ้อมในการหาโซลูชัน

“บางครั้ง และมักจะเป็นปกติของธุรกิจ คุณจะรู้ว่าต้องไปที่ไหน ทำเมื่อไร ถึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปตามแผน ในทางกลับกัน การเรื่อยเปื่อย ออกนอกลู่นอกทางสำหรับธุรกิจ อาจเป็นเรื่องไร้ประสิทธิภาพ แต่ก็เกิดขึ้นเพราะสัญชาตญาณ กึ๋น และความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายมักจะเป็น บทเรียนสู่ความสำเร็จ หรือรางวัลยิ่งใหญ่ที่ควรค่าพอจะเรื่อยเปื่อย”

ทั้งนี้ สิ่งที่เบโซส์ได้เรียนรู้จากการสร้าง Amazon ก็คือ ความสำเร็จมาจากการทำซ้ำ เช่น การประดิษฐ์ของสิ่งหนึ่งแล้วเปิดตัวสู่ตลาด แล้วก็นำมาทำใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า 

“หนทางสู่ความสำเร็จเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ทางตรง” (The path to success is anything but straight.)

 
 
 
 

บทเรียนสู่ความสำเร็จJeff5

 

5.อย่าสูญเสียความเป็นตัวเอง

ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นฉบับสุดท้ายของการเป็นซีอีโอ Amazon เบโซส์กล่าวถึงความสำคัญของการรักษาลักษณะเฉพาะหรือความเป็นตัวของตัวเองเอาไว้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่า เพราะคนเราทุกคนต่างได้รับการสอนให้เป็นตัวของตัวเอง แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเป็นตัวของตัวเอง และในความเป็นจริงต้องใช้พลังกายพลังใจมากมายที่จะคงความเป็นตนเองไว้ แต่ไม่ว่าจะยากเพียงใด หรือต้องทำงานหนักเพียงไหน ก็อย่าปล่อยให้โลกฉุดรั้งตัวเองจนยอมเป็นเหมือนคนทั่วไป

“คำแนะนำฉบับเทพนิยายของ ‘การเป็นตัวเอง’ ก็คือ ความเจ็บปวดทั้งหลายจะหายไปตราบใดที่คุณยอมให้ตัวตนของคุณได้เฉิดฉาย ซึ่งเวอร์ชันดังกล่าวทำให้เข้าใจผิด แน่นอนว่าการเป็นตัวเองคือเรื่องที่คุ้มค่า แต่อย่าหวังว่ามันจะง่าย และปลอดโปร่งโล่งสบายโดยเด็ดขาด”

#บริหารรังสิต #RBSRSU #Dek65 #มอรังสิต #บริหารธุรกิจ